วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 4 ทักษะพื้นฐานในการสร้างและการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

ความหมายของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
คุณค่าของวัสดุกราฟิก
1. ราคาถูก
2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
4. เก็บรักษาง่าย
5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
3. ประหยัดเวลา
4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี
วัสดุกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ
2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน
3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ
4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ
5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
หลักการออกแบบวัสดุกราฟิก
1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ
3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ
5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น
6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง
ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก
1. สามารถแสดงเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายและเปรียบเทียบเนื้อหาต่าง ๆ ได้ดี
2. สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญพิเศษมากนัก
3. ต้นทุกในการผลิตมีราคาถูกกว่าสื่อประเภทอื่น
4. ใช้งานได้สะดวกรวดเร็วไม่ยุ่งยาก เก็บรักษาง่าย
5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ทำแผนภูมิ จัดทำป้ายนิเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
วัสดุกราฟิกก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ คือ
1. ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดเล็กเท่านั้น
2. การออกแบบในการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยาก
3. วัสดุกราฟิกที่มีคุณภาพดีและสวยงามจำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญพิเศษมาช่วยในการผลิต
วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ
วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้
1. แผนภูมิ (Charts)
แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา
เทคนิคการนำเสนอ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้
ประเภทของแผนภูมิมี 8 ประเภท
1. แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts) แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง
2. แผนภูมิแบบสายธาร (Streem Charts) ใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกันจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น มีวัสดุอะไรบ้างรวมกันเป็นคอนกรีต เป็นต้น
3. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts) ใช้แสดงลำดับขั้นของการทำงานเช่นขั้นตอนการตอนกิ่งไม้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คนตกน้ำ เป็นต้น
4. แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของสายงานในองค์การ หรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ เช่น แผนภูมิการบริหารงานของโรงพยาบาล เป็นต้น
5. แผนภูมิเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกและลมทะเล เป็นต้น
6. แผนภูมิแบบตาราง (Table Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ เป็นต้น
7. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Evolution Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
8. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Pictorial Charts) ใช้ชี้แจงส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน เช่น ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ อวัยวะภายในของมนุษย์ เป็นต้น

2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ลักษณะแผนสถิติที่ดี
1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ
2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล
5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล
ชนิดของแผนสถิติ แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน
2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผนสถิติแบบแท่งจะได้ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด
3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน
4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก
5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ

3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น
ลักษณะแผนภาพที่ดี
1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน
3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน
4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ
เทคนิคการนำเสนอ
1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน
2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ
5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

4. ภาพพลิก (Flip Charts)
ภาพพลิกเป็นทัศนวัสดุที่เป็นชุดของภาพวาด ภาพถ่าย แผนภูมิ หรือแผนสถิติ ซึ่งนำมาเย็บเล่นรวมกันเข้าเป็นเรื่องราวให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ จำนวนประมาณ 10-15 แผ่น
รูปแบบของภาพพลิกสามารถทำได้หลายแบบ เช่น
1. ใช้กระดาษแข็งหรือไม้อัดทำเป็นปกหน้าและปกหลัง เวลาใช้ต้องกางปกทั้งสองออกเป็นขาตั้งไปในตัว
2. ใช้กระดาษแข็ง ไม้อัด หรือไม้เนื้อแข็งทำเป็นขาหยั่งตั้งโต๊ะ แบบเป็นรูปฐานรองรับภาพ 2 ชิ้น แล้วติดด้วยบานพับ
3. ใช้ขาหยั่งตั้งบนพื้นทำเป็นเสาสูง 3 หรือ 4 และมีขอโลหะสำหรับทำที่แขวนด้านบน
ลักษณะของภาพพลิกที่ดี
1. ภาพชัดเจน เข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ดี ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2. คำอธิบายควรเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด ตัวอักษะขนาดใหญ่และควรเป็นอักษรแบบเดียวกันทั้งชุด
3. ควรใช้สีให้ตัดกันอย่างเหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 3-4 สี ภาพสีจะช่วยให้เกิดความสนใจมากกว่าภาพขาวดำ
4. ภาพควรเรียงตัวต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้อง ภาพพลิก 1 ชุด ควรเป็นเรื่องเดียวกัน ในภาพหนึ่งควรมีความคิดเดียว
5. การเย็บแผ่นหรือขาหยั่ง ขาตั้ง ต้องมั่นคงแข็งแรง
เทคนิคการนำเสนอ
1. ติดตั้งภาพพลิกบนขาหยั่ง ขาตั้งให้เรียบร้อย
2. อธิบายอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้น
3. อย่ายืนบังภาพพลิกในขณะใช้
4. การใช้ควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้
5. ควรเปิดโอกาสให้คนดูมีส่วนร่วมกิจกรรมด้วย อาจทำเป็นคำถามไว้ในภาพพลิก หรือภาพชวนให้ศึกษาคำตอบ
6. ควรมีบทสรุปหรือกิจกรรมต่อเนื่องในตอนท้ายของเรื่อง
7. ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้ดี


5. ภาพโฆษณาหรือภาพโปสเตอร์ ภาพโปสเตอร์เป็นทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นชักชวน จูงใจ สร้างความประทับใจให้เกิดความประทับใจ ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาต่อไป เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อภาพโปสเตอร์ ควรเป็นเนื้อหาที่ต้องการกระตุ้นเร้าใจให้ปฏิบัติตามการแจ้งข่าวสาร การแนะนำเชิญชวน เป็นต้น
ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
2. เด่นมองเห็นสะดุดตา
3. ข้อความสั้นกระชับได้ใจความ
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. สื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะห่างพอสมควร


6. รูปภาพ (Picture) รูปภาพเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเป็นวัสดุพื้นฐานที่มีอิสระในตัวเอง สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่น ๆ ในทุกสถานที่และทุกเวลา รูปภาพเป็นวัสดุราคาถูก หาได้ง่ายแต่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในทุกระดับ
ลักษณะรูปภาพประกอบการสอนที่ดี
1. มีความหมายให้รายละเอียดตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2. เป็นภาพที่คุ้นเคยกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
3. เป็นภาพที่ตรงกับความเป็นจริง ทันสมัย ประณีต
4. เป็นภาพที่สื่อความหมายได้ดี
5. มีสาระในภาพเพียงเรื่องเดียว
6. ควรเป็นภาพที่ถูกหลักการออกแบบ และมีคุณภาพทางเทคนิคดี
7. มีหัวเรื่องและมีคำอธิบายประกอบภาพ
ข้อดีและข้อจำกัดของรูปภาพ
ข้อดี
1. ทำประสบการณ์นามธรรมเป็นรูปธรรมได้
2. ราคาถูกจัดหาได้ง่าย เร้าความสนใจได้ดี
3. สามารถดัดแปลงให้เป็นสื่ออื่น ๆ ได้อีกมาก
4. ครอบคลุมเนื้อหาได้หลาย ๆ วิชา
5. ศึกษารายละเอียดได้โดยใช้เวลานานเท่าที่ต้องการ
6. ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้แทบทุกชนิด
7. ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน
ข้อเสีย
1. รูปภาพอาจมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่
2. ขาดมิติของความลึก ทำให้ดูไม่สมจริงสมจัง
3. ชำรุดฉีกขาดง่าย
เทคนิคการนำเสนอด้วยรูปภาพ
1. ใช้รูปภาพให้ตรงกับจุดหมายที่ตั้งไว้
2. ไม่ควรนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อมกัน
3. ควรติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
4. อาจสร้างความสนใจด้วยการปิด - เปิดทีละส่วน
5. ใช้ควบคู่กับสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น วีดีทัศน์ แผนภูมิ ของจริง
6. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ตอบคำถาม เล่าเรื่องจากภาพ
7. รูปภาพที่ดี ๆ มีคุณค่า ควรผลึก หรือใส่กรอบให้แข็งแรง
8. เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บรักษาไว้หมวดหมู่เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป
อ้างอิงจาก...
http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/DATA7.HTML

7 ความคิดเห็น:

  1. อาจารย์ค่ะ งานสื่อต่าง ๆ ให้ส่งที่บล็อกของอาจารย์เลยใช่ไหมค่ะ

    ตอบลบ
  2. สวัสดีค่ะอาจารย์รายงายตัวค่ะ

    ตอบลบ
  3. อาจารย์ค่ะสรุปโครงการทัศนศึกษาเรียบร้อยแล้วค่ะ

    ตอบลบ
  4. งานเรียบร้อยตรวจได้ที่บล็อค http://sirirat0524.blogspot.com/
    ศิริรัตน์ สุวรรณ เลขที่ 28 หมู่ 8 ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. อาจารย์ค่ะ บล็อคเรียบร้อยค่ะ

    ทัศนศึกษา จะสลับกับงานภาพถ่ายนะค่ะ ขอบคุณคะ

    ศุภักษร

    ตอบลบ
  6. อาจารย์ค่ะงานเรียบร้อยแล้วค่ะ

    ตอบลบ

Powered By Blogger

ป้ายกำกับ

ท่านคิดว่าสื่อการสอนที่เหมาะสมกับห้องเรียนของท่านคือสื่อประเภทใด

เทคโนโลยีการศึกษา ป.บัณฑิต

การเรียนการสอนป.บัณฑิต

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนป.บัณฑิต เป็นการยกระดับการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรทางการศึกษาน่าสนใจและน่าติดตามพัฒนาการของผู้เรียนเป็นยิ่งนัก

ค้นหาบล็อกนี้

ผู้ติดตาม